วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดาวโหลด Ubuntu 11.10

ดาวโหลดเป็นไฟล์ ISO
ubuntu-11.10-dvd-i386.iso

ดาวโหลดโดยใช้โปรแกรม Utorrent
ubuntu-11.10-dvd-i386.iso.torrent


วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

การติดตั้ง web server บน Ubuntu Desktop 10.04

กำลังเขียนบทความอยู่ การติดตั้ง web server บน Ubuntu Server
http://ubuntukuru.blogspot.com/2011/03/web-server-ubuntu-1004.html

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

คำสั่ง Ubuntu

หลังจากที่ผมทดลองเขียนบทความบน Blog ก็มีผู้เข้าเยี่ยมชมต้องการอยากรู้คำสั่งที่ใช้ ผมเลยรวบรวมคำสั่งพื้นฐานที่ใช้งานใน Ubuntu คำสั่งใช้ได้ทั้ง Ubuntu Server และ Ubuntu Desktop เรามาดูคำสั่ง Ubuntu กันเลยดีกว่า

คำสั่ง Ubunut


ls
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับ dirของDOS) มากจากคำว่า list
รูปแบบคำสั่ง ls [option] [file]
option ที่มักใช้กันใน ls คือ
-l จะแสดงผลลัพธ์แบบ Long Format ซึ่งจะแสดง Permission ของแฟ้มด้วย
-a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด
-F จะแสดง / หลัง Directory และ * หลังแฟ้มข้อมูลที่ execute ได้
ตัวอย่างการใช้งาน
ls -l
ls -al
ls -F

adduser
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน adduser -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง adduser -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root

useradd
คำสั่งเพิ่ม User ให้กับระบบ Unix,Linux (ใช้เหมือนกับคำสั่ง adduser)
รูบแบบการใช้งาน useradd -g (group) -d (Directory) (User)
ตัวอย่าง useradd -g root -d /home/user1 user สร้าง User ชื่อ Login คือ user1 เป็นสมาชิกในกลุ่ม root


userdel
คำสั่งลบ User ออกจากระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน userdel [option] (Username)
ตัวอย่าง userdel -r root user1 ลบ User ชื่อ Login คือ User1 และ -r คือให้ลบ Home Directoryของ User1 ด้วย

passwd
คำสั่งกำหนดและแก้ไขรหัสผ่านของ User ของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน passwd [Username]
ตัวอย่าง passwd user1 (กำหนดรหัสผ่านให้ User1 ถ้าไม่พิมพ์ ชื่อ User ระบบUnixจะหมายความว่าแก้ไขรหัสผ่านของคนที่Loginเข้ามา)

alias
คำสั่งกำหนดคำสั่งย่อของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่ง SETในDOSแต่สามารถใช้เปฝ้นคำสั่ง RUNได้)
รูบแบบการใช้งาน alias [ชื่อใหม่=ข้อความ]
ตัวอย่าง alias copy=cp กำหนดให้พิมพ์ copy แทนคำสั่ง cpได้

bash
คำสั่งเรียกใช้ Bourne again shellของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bash
ตัวอย่าง bash [Enter] ( เรียกใช้ Bourne again shell)

bc
คำสั่งเรียกใช้โปรแกรมคำนวณเลขของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน bc [-lwsqv] [option] [file]
ตัวอย่าง bc [Enter] 1+2 [Enter] 1^2 [Enter] a=3 [Enter] b=4 [Enter] a*b [Enter] x=2;y=5;x+y[Enter] [Ctrl-d] เพื่อออก
หมายเหตุ:คำสั่งนี้จะใช้ได้ต้องInstall Packet ลงไปก่อน

cp
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสำเนาแฟ้มข้อมูล (เช่นเดียวกับcopyของDOS) มาจากคำว่า copy
รูปแบบคำสั่ง cp source target
ตัวอย่างการใช้งาน #cp test.txt /home/user1

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)

cat
คำสั่งแสดงข้อความในFileของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cat
ตัวอย่าง cat /home/user1 | more อ่านข้อมูลจากไฟล์/home/user1ถ้ายาวเกินหน้าให้หยุดทีละหน้าจอ

C Compiler
คำสั่งCompile ภาษาCของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งTypeของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cc [filename]
ตัวอย่าง cc /home/user1/industry.c จะสั่งให้ระบบCompile ภาษาC ไฟล์ชื่อ industry.c ที่ Directory /home/user1

cd
คำสั่งChange Directoryของระบบ Unix,Linux (คล้ายกับคำสั่งCDของDOS)
รูบแบบการใช้งาน cd [directory]
ตัวอย่าง cd /etc [Enter]ไปDirectory etc
cd ..[Enter] ย้ายไปDirectoryอีก1ชั้น

chfin
คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์)
รูบแบบการใช้งาน chfn [username]
ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1

chgrp
คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root

chmod
คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File)
ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r *
ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw – =6 ; r-x =5 ; r- – = 4 ; – wx = 3 ; – w – = 2 ; – - x = 1 ; – - = 0
การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ
1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม
2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต)
กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้
สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute
รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว

chown
คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1
chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.

chsh
คำสั่งchshของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนShell ให้ User)
รูบแบบการใช้งาน chsh [Username]
ตัวอย่าง chsh user1 [Enter] /bin/bash [Enter]

clear
คำสั่งclearของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบข้อความบนจอภาพ คล้ายกับคำสั่ง clsใน dos)
รูบแบบการใช้งาน clear
ตัวอย่าง clear [Enter]

cal
คำสั่งแสดงปฏิทินของระบบ Unix,Linux
รูบแบบการใช้งาน cal
ตัวอย่าง cal [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินเดือน ปัจจุบัน)
cal -y [Enter](สั่งให้ระบบแสดง ปฏิทินปี ปัจจุบัน)
mesg
mesg ดู status การรับการติดต่อของ terminal
mesg y เปิดให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้
mesg n ปิดไม่ให้ terminal สามารถรับการติดต่อได้

date
ใช้แสดง วันที่ และ เวลา
ตัวอย่าง date 17 May 2004

df
คำสั่งdf ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบการใช้พื่นที่บนฮาร์ดดิสก์)
รูบแบบการใช้งานdf [option] [file]
ตัวอย่าง df [Enter]

dmesg
คำสั่งdmesgของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงผลเหมือนตอน Boot)
รูบแบบการใช้งาน dmesg
ตัวอย่าง dmesg | more [Enter]
หมายเหตุ คำสั่งนี้ ใช้ตรวจสอบ เมื่อเกิดปัญหา เช่น Linux ไม่รู้จัก Driver CD-Rom หรือปัญหาอื่นๆ

echo
คำสั่งechoของระบบ Unix,Linux (เป็นการให้แสดงข้อความ เหมือนกับ ECHOของDOS)
รูบแบบการใช้งาน echo (ข้อความที่ต้องการให้แสดงผล)
ตัวอย่าง echo my name is user1
echo Hello > /dev/tty2 ส่งข้อความ Hello ไปออกจอเทอร์มินอลที่2

ed
คำสั่ง ed ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file เหมือนกับคำสั่ง edlinของDOS)
รูบแบบการใช้งาน ed (fileName)
ตัวอย่าง ed /home/user/test (ออกกดq)
สำหรับคนที่ไม่ถนัดคำสั่งนี้แนะนำให้ใช้คำสั่ง picoหรือvi หรือemacsแทนได้เช่นกัน

emacs
คำสั่ง emacs ของระบบ Unix,Linux (โปรแกรมแก้ไขข้อความใน Text file )
รูบแบบการใช้งาน emacs (fileName)
ตัวอย่าง emacs /home/user/test (help กด Ctrl – h ; ออกกด Ctrl – x Ctrl – c)

exit
คำสั่ง exit ของระบบ Unix,Linux (ออกจากระบบยูนิกส์ )
รูบแบบการใช้งาน exit
ตัวอย่าง exit

finger
คำสั่ง finger ของระบบ Unix,Linux (แสดงชื่อUserที่กำลังLoginเข้ามาแต่คำสั่ง Whoจะให้รายละเอียดดีกว่า)
รูบแบบการใช้งาน finger [username]
ตัวอย่าง finger user1 แสดงชื่อและรายละเอียด user1

fsck
คำสั่ง fsck ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่ง ตรวจสอบและซ่อมแซม Linux file system เหมือนกับคำสั่งScandisk ของDos)
รูบแบบการใช้งาน fsck [option]
ตัวอย่าง /sbin/fsck -a /dev/hd1

ftp
คำสั่ง ftp ของระบบ Unix,Linux (เป็นโปรแกรมรับ-ส่งไฟล์ )
รูบแบบการใช้งาน ftp (IP or Name of FTP Server)
ตัวอย่าง ftp 132.209.1.2 [Enter]
Login:anonymous , Password: Username@YourDomain.com
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ls – ดูไฟล์ ; pwd -ดูdir. ที่อยู่ ;cd – เปลี่ยน dir ;lcd – เปลี่ยน local dir ;mput* -ส่งไฟล์ ;mget – รับไฟล์ ;bye – ออก

grep
คำสั่ง grep ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้ค้นหาตามเงื่อนไข )
รูบแบบการใช้งาน grep (option)
ตัวอย่าง grep -i ftp /etc/test ค้นหาบรรทัดที่มีคำว่า “ftp”ไม่สนใจพิมพ์เล็ก-ใหญ่ จาดไฟล์ /etc/test

groupadd
คำสั่ง groupadd ของระบบ Unix,Linux (เป็นการเพิ่มรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupadd staff สร้างกลุ่มของ User ชื่อ Staff เพิ่มให้ระบบ

groupdel
คำสั่ง groupdel ของระบบ Unix,Linux (เป็นการลบรายชื่อกลุ่มของ User)
รูบแบบการใช้งาน groupadd (GroupName )
ตัวอย่าง #groupdel staff ลบกลุ่มของ User ชื่อ Staffออกจากระบบ

gzip/gunzip
คำสั่งgzip/gunzipของระบบ Unix,Linux (เป็นการบีบอัดไฟล์หรือขยายบีบอัดไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน gzipหรือgunzip (-cdfhlLnNrtv19 ) [file]
ตัวอย่าง #gzip -9vr /home/samba/* บีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ ในSub /home/samba จะเปลี่ยนเป็นนามสุกล .gz
#gunzip -dvr /home/samba/* คลายการบีบอัดไฟล์ข้อมูลทุกไฟล์ที่สกุล .gz ในSub /home/samba

halt
คำสั่ง halt ของระบบ Unix,Linux (เป็นการสั่งให้เครื่องหยุดทำงาน)
รูบแบบการใช้งาน halt [-n] [-w] [-d] [-f] [-I] [-p]
ตัวอย่าง #halt
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง คือ Shutdown ; init0 , reboot

history
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการดูประวัติการใช้คำสั่งในCommand line คล้ายกับการกดF7ในDOSคือเรียกใช้คำสั่งDos key)
รูบแบบการใช้งานhistory [n] [-r wan [filename] ]
ตัวอย่าง #history 20 ดูคำสั่งที่เพิ่งใช้ไป20คำสั่งที่แล้ว

ifconfig
คำสั่ง history ของระบบ Unix,Linux (เป็นการตรวจสอบกำหนดค่าNetworkของLan Card)
รูบแบบการใช้งาน ifconfig [option]
ตัวอย่าง #ifconfig

ipchains
คำสั่ง ipchains ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน ipchains [parameter] command [option]
ตัวอย่าง #ipchains -L ดูสถานะการ Set IPchainsในปัจจุบัน

jobs
คำสั่ง jobs ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับกำหนดควบคุม การรับส่งผ่านข้อมูลของ Firewall)
รูบแบบการใช้งาน jobs
ตัวอย่าง #sleep 20 & jobs

kill
คำสั่ง kill ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งสำหรับยกเลิก Process)
รูบแบบการใช้งาน kill [option] (process ID)
ตัวอย่าง ps -A ดูหมายเลขที่ช่อง PIDของProcess ที่ต้องการลบ
Kill -9 nnn แทนnnnด้วยหมายเลขPID -9 คือบังคับฆ่าให้ตาย

login
คำสั่ง login ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งการเข้าระบบหรือเปลี่ยน User Login) รูบแบบการใช้งาน login [fp] (UserName)
ตัวอย่าง #login:root

mkdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการสร้าง directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า make directory
รูปแบบของคำสั่งmkdir mkdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ
-m จะทำการกำหนด Permissioin (ให้ดูคำสั่ง chmod เพิ่มเติม)
-p จะทำการสร้าง Parent Directory ให้ด้วยกรณีที่ยังไม่มีการระบุ directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้
ตัวอย่าง
mkdir /home
mkdir -p -m755 ~/้home/user1

mv
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการย้ายแฟ้มข้อมูลและ Directory รวมถึงการเปลี่ยนชื่อด้วย (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า move
รูปแบบคำสั่ง
mv source target
ตัวอย่าง mv *.tar /backup
mv test.txt old.txt
mv bin oldbin

more
คล้ายกับคำสั่ง cat ไม่เหมาะกับการดูข้อมูลที่มีความยาวมากๆ ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนา more ขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถดูข้อมูลที่มีขนาดยาวได้เป็นช่วงๆ
รูปแบบคำสั่ง more file
ภายในโปรแกรม more จะมีคำสั่งเพื่อใช้งานคราวๆ ดังนี้
= แสดงเลขบรรทัด
q ออกจากโปรแกรม
เลื่อนไปยังหน้าถัดไป เลื่อนไปยังบรรทัดถัดไป
h แสดง help
ตัวอย่าง more test.txt

man
คำสั่ง man ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งแสดงข้อความ อธิบายการใช้คำสั่ง)
รูบแบบการใช้งานman (Command)
ตัวอย่าง #man ls
หมายเหตุ เมื่อต้องการออก กด q ;ใช้[Spacebar] เลื่อนหน้าถัดไป ; ใช้ลูกศรขึ้นดูหน้าผ่านมา

mount
คำสั่ง mount ของระบบ Unix,Linux (เป็นคำสั่งเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ)
รูบแบบการใช้งาน mount (-t type) DeviceDriver MountPoint
ตัวอย่าง
# การ Mountแบบที่1 CdRom mount -t iso9660 /dev/cdrom /mnt/cdrom
หรือ
# mkdir /mnt/cdrom
# mount_cd9660 /dev/cd0a /mnt/cdrom
#การ Mount CdRom แบบที่2 mount /dev/cdrom (เมื่อmountแล้วCDจะอยู่ที่ /mnt/CdRom ยกเลิกดูคำสั่ง Unmount)

rmdir
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการลบ directory (ในทำนองเดียวกับ dos) มาจากคำว่า remove directory
โครงสร้างคำสั่ง
rmdir [option] [file]
โดย option ที่มักใช้กันใน mkdir คือ -p จะทำการลบ Child และ Parent Directory ตามลำดับ
directory ในที่นี้อาจเป็น relative หรือ absolute path ก็ได้ ตัวอย่าง rmdir /home

tar
เป็นคำสั่งเพื่อการ backup และ restore file ทั้งนี้การ tar จะเก็บทั้งโครง สร้าง directory และ file permission ด้วย (เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือแจกจ่ายโปรแกรมบนระบบ UNIX) มาจากคำว่า tape archive
รูปแบบคำสั่ง tar [option]… [file]…
โดย option ที่มักใช้กันใน echo คือ
-c ทำการสร้างใหม่ (backup)
-t แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแฟ้มที่ backup ไว้
-v ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผล
-f ผลลัพธ์ของมาที่ file
-x ทำการ restore
ตัวอย่าง tar -xvf data.tar

talk
คำสั่งที่ใช้สำหรับการพูดคุยระหว่างผู้ใช้ด้วยกันบนระบบ ซึ่งผู้ใช้ทั้งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องพิมพ์คำสั่ง Talk ถึงกันก่อน จึงจะเริ่มการสนทนาได้
รูปแบบคำสั่ง talk user[@host] [tty]
กรณีไม่ระบุ host โปรแกรมจะถือว่าหมายถึงเครื่องปัจจุบัน (นอกจากนี้ยังมีคำสั่ง ytalk ซึ่งสามารถพูดคุยได้พร้อมกันมากกว่า 2 คน) ซึงบางกรณีเราอาจจะต้องระบุ tty ด้วยหากมีผู้ใช้ Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อเดียวกันมากกว่า 1 หน้าจอ
ตัวอย่าง talk m2k@nanastreet.com

write
คำสั่งใช้เพื่อการส่งข้อมูลทางเดียวจากผู้เขียนไปถึงผู้รับบนเครื่องเดียวกันเท่านั้น
รูปแบบคำสั่ง write user [tty]
เมื่อมีการพิมพ์คำสั่ง write ผู้ใช้จะเห็นข้อความซึ่งจะแสดงว่าข้อความดังกล่าวถูกส่งมาโดยใคร ซึ่งหากผู้รับต้องการตอบกลับ ก็จะต้องใช้คำสั่ง write เช่นกัน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้พิมพ์ตัวอักษร EOF หรือ กด CTRL+C เพื่อเป็นการ interrupt ทั้งนี้ข้อความที่พิมพ์หลังจาก write จะถูกส่งหลังจากการกด Enter เท่านั้น
ตัวอย่าง write m2k

who am i
คำสั่งใช้เพื่อแสดงว่าผู้ใช้ซึ่ง login เข้าสู่ระบบนั้น (ตัวเราเอง) login ด้วยชื่ออะไร
รูปแบบคำสั่ง/ตัวอย่าง whoami หรือ who am i (บน SUN OS หรือ UNIX บางตัวเท่านั้น)

file
คำสั่งfileบนระบบ DOS/Windows นั้น ประเภทของแฟ้มข้อมูลจะถูกระบุด้วยนามสกุล แต่ใน UNIX จะไม่มีนามสกุลเพื่อใช้ระบุประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนั้นการหาประเภทของแฟ้มข้อมูลจะดูจาก Context ภายในของแฟ้ม ซึ่งคำสั่ง file จะทำการอ่าน Content และบอกประเภทของแฟ้มข้อมูลนั้นๆ
รูปแบบคำสั่ง file [option]… file
ตัวอย่าง file /bin/sh
file report1.doc

free
แสดงหน่วยความจำที่เหลืออยู่บนระบบ
โครงสร้างคำสั่ง free [-b|-k|-m]
โดย option ที่มักใช้กันใน free คือ
-b แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย byte
-k แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย kilobyte
-m แสดงผลลัพธ์เป็นหน่วย megabyte
ตัวอย่าง free
free -b
free -k

pwd
เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดง Directory ปัจจุบัน (ในทำนองเดียวกับการพิมพ์ cd บน DOS) มาจากคำว่า print work directory
รูปแบบคำสั่ง / ตัวอย่าง pwd

uname
คำสั่งแสดง ชื่อและรุ่นของ OS ชื่อและรุ่นของ cpu ชื่อเครื่อง
ตัวอย่าง uname -a

hostname
คำสั่งแสดงชื่อเครื่องที่ใช้อยู่
ตัวอย่าง hostname

tty
แสดงหมายเลข terminal ที่ใช้งานอยู่
ตัวอย่าง tty

id
ใช้แสดงชื่อและกลุ่มมของผู้ใช้งาน
ต้วอย่าง id

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้ง Ubuntu 10.04 LTS

การ ติดตั้ง Ubuntu 10.04 LTS

Ubuntu 10.04, หรือ Lucid Lynx, ระบบปฏิบัติการอีกตัวของ open source อย่างลีนุก เปิดตัวเมื่อเมษายนที่ผ่านมา เป็นรุ่นที่ 12 ของ Ubuntu OS สำหรับบทความนี้เป็นการแนะนำขั้นตอนการติดตั้งสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ที่สนใจระบบปฏิบัติการฟรีอย่าง Ubuntu 10.04 LTS พิเศษสำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยติดตั้งและใช้งานจริงๆ ครับ
ความต้องการของระบบ
เราจะต้องมีแผ่น โปรแกรม Ubuntu 10.04 LTS Desktop ISO image สามารถดาวโหลดได้จากที่นี้ครับ โหลด Ubuntu 10.04 LTS หลังดาวโหลดมาแล้ว จะต้องใช้โปรแกรมเขียนแผ่น CD/DVD burning เช่น (Nero, CDBurnerXP, Roxio) ด้วยแผ่น CD เปล่าที่ความเร็ว 8x
จาก นั้นใส่แผ่นเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดตั้งและ reboot เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้ boot จาก CD กดแป้น F8, F11 or F12 (ขึ้นอยู่กับ BIOS) เพื่อเลือก CD/DVD-ROM ให้เป็น boot device.
คอย การโหลดของ CD to
เราจะพบหน้าจอติดตั้งเป็นคำแนะนำแบบ wizard. เลือกภาษาที่เราต้องการ จากนั้นคลิก “Install Ubuntu 10.04 LTS”
เราอยู่ที่ไหน?
หน้าต่างที่สองจะ แสดงออกมา เป็นแผนที่โลก ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่อยู่ของเรา เขตเวลาจะปรับให้อัตโนมัติ โดยสามารถเลือกจากรายการ drop-down list ด้านล่างของหน้าต่าง คลิกปุ่ม Forword”
ทดสอบ keyboard
ในหน้าต่างที่สาม ,เราจะสามารถเลือกรูปแบบของ keyboard layout. ปกติค่า default จะสามารถใช้งานได้อยู่แล้ว คลิกปุ่ม “Forward” เมื่อกำหนดเรียบร้อย
การแบ่งพื้นที่ของ Hard disk
เรามี 4 ทางเลือกในการทำ :
1. ถ้าเรามีอีกหนึ่ง OS เช่น Windows XP และคุณต้องการติดตั้งแบบสองระบบ เลือก option แรก : “ลงคู่กัน และเราจะเลือกว่าจะใช้ตัวไหน ตอนเปิดเครื่อง
Note: สำหรับ option นี้จะแสดงก็ต่อเมื่อเรามี OS อย่างเช่น Windows ติดตั้งอยู่แล้วเท่านั้น จำไว้ว่าหากติดตั้งแล้ว ระบบ Windows boot loader จะถูกเขียนทับด้วย Ubuntu boot loader!
2. ถ้าเราลบหรือ Format ระบบ OS เดิม ออกไป หรือ hard drive ของเราว่าง ระบบก็จะให้เราปรับ automatically partition ให้เราเลือก “Use the entire disk.”
Note: สำหรับ option นี้แนะนำสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มี OS อื่นๆ ติดตั้งอยู่ หรือ ลบระบบเดิมออก เช่น Windows OS.
3. สำหรับทางเลือก คือการติดตั้ง บน “Use the largest continuous free space” ซึ่งจะติดตั้ง Ubuntu 9.10 iบนพาร์ที่ทิชั่นที่ไม่มีการ กำหนด ของ hard drive.
4. ทางเลือกที่ 4 คือ “ระบุ partitions manually” และแนะนำสำหรับผู้ใช้งานขั้น advanced users, ในการสร้าง special partitions หรือ format hard drive ด้วยระบบอื่นๆ แต่มีประโยชน์ในการสร้าง /home partition, ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีเราต้องการ reinstall ทั้งระบบ
ต่อ ไปนี้เป็นขั้นตอนการทำ manual partitioning with /home:
- เลือก “Specify partitions manually (advanced) จากนั้นคลิก “Forward” button;
- แน่ใจว่าเลือก hard drive ที่ถูกต้อง /dev/sda จะเป็นตัวแรกของ hard drive. /dev/sdb จะเป็นตัวที่สอง แน่ใจว่าเราต้องรู้ว่าต้องการ format! อันไหน มิฉะนั้นข้อมูลจะหายไปหมด ;
- สมมุติว่า ตัวที่สองว่าง ไม่มีข้อมูล หรือระบบ OS แต่มีการแบ่งพาร์ทิชั่น ให้คลิกเลือกแต่ละตัวของพาร์ทิชั่น และคลิกปุ่ม “Delete” button. หลังจากนั้นจะแสดง “free space.” ทำต่อไปกับพาร์ทิชั่นที่เหลือ จนกระทั่งเราได้ “free space” line;
- ด้วย “free space” line ถูกเลือก, คลิกปุ่ม “Add” button. ในหน้าต่างใหม่ พิมพ์ 2000 ใน “New partition size in megabytes” เลือก “swap area” จากช่อง “Use as:” drop down list. คลิก OK button and, เราจะเห็น “swap” line พร้อมขนาดที่เราระบุ;
- ด้วย “free space” line ถูกเลือก, คลิก “Add” button. ในหน้าต่างใหม่ , เลือก “Primary” option, พิพม์ค่าระหว่าง 10,000 และ 50,000 ในช่อง “New partition size in megabytes” เลือก / as the “Mount point.” คลิก OK buttonเราจะเห็น “ext4 /” line พร้อมขนาด;
- ด้วย “free space” line ถูกเลือก , คลิก “Add” button. ในหน้าต่างใหม่ , เลือก “Primary” option, ใส่ค่าระหว่าง 30,000 และ 50,000 (หรือเท่าขนาดที่เราเหลืออยู่) ในช่อง “New partition size in megabytes” field และเลือก /home เป็น “Mount point.” คลิก OK button และเราจะเห็น “ext4 /home” line พร้อมขนาดที่เราระบุ.
เราควรจะได้ตารางพาร์ทิชั่นหน้าตาประมาณนี้ ครับ คลิก “Forward” button เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้งต่อไป
WARNING: แจ้งเตือนว่าข้อมูลบน drive หรือ partition จะถูกลบหรือหายไป
คลิก “Forward” button เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป …
คุณคือใคร ?
ในหน้าต่างนี้ , เราต้องทำตามที่การติดตั้งบอก . กรอกข้อมูลจริงของเราลงไป ชื่อที่เราต้องการใช้งานในการ log in บน Ubuntu OS (หรือ “username,” ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการ log in เข้าระบบ , กำหนด password และชื่อของ computer (จะตั้วให้เราโดยออโต้ แต่เราสามารถเปลี่ยนใหม่ได้ ).
ใน ขั้นตอนนี้, จะมี option called “Log in automatically.” ถ้าเราเลือก option นี้, เราจะ automatically logged in เข้าสู่ระบบ Ubuntu desktop. คลิก “Forward” buttonเพื่อไปขั้นต่อไป
คุณพร้อมจริงๆ สำหรับ Ubuntu?
เป็น ขั้นตอนสุดท้ายของ ของการติดตั้ง installation. เราสามารถเลือกที่จะติดตั้ง boot loader บน partition อื่นๆ หรือบน hard drive นอกเหนือจากค่า default one, แต่แนะนำสำหรับผู้ใช้งานขั้น advanced users. ถ้าใครติดตั้ง ลง USB memory stick, ราวกับว่ามันเป็น USB hard drive, จะทำให้ตัว installer สับสนกับ computer’s hard disk drive MBR.
ดังนั้น, คลิก “Advanced” button และเลือกตัวที่ถูก (the USB stick in this case)…
คลิก “Install” button เพื่อเริ่มการติดตั้ง…
โปรแกรม Ubuntu 10.04 LTS (Lucid Lynx) operating system จะได้รับการติดตั้ง ..
ใช้เวลาประมาณ 10 – 18 นาที (ขึ้นกับ computer’s specs), จะมี pop-up window ขึ้นมา, แจ้งว่าการติดตั้งเสร็จสิ้น และให้เรา restart เครื่อง computer เพื่อใช้งาน Ubuntu operating system.คลิก “Restart Now” button…
แผ่น CD จะถูกขับออก จากนั้นกดแป้น “Enter” key เพื่อ reboot. เครื่อง computer จะถูก restarted and, และสักพักเราจะเห็นการ boot เข้าสู่ Ubuntu boot splash…
ที่หน้าต่าง login screen, คลิก username และใส่ password. คลิก “Log In” button or hit Enter…
Have fun using Ubuntu 10.04 LTS!
ขอให้ มีความสุขและสนุกกับระบบ Ubuntu 10.04 LTS!
สำหรับใครที่ต้องการรู้ว่า ubuntu คืออะไร
http://kornerboy-ubuntu.blogspot.com/2011/03/ubuntu-1004-lts.html

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

Ubuntu คืออะไร


Ubuntu คือ Operating System หนึ่งที่พัฒนามาจากระบบ Unix (เช่นเดียวกับ Mac OS X)แต่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแก้ไขดัดแปลงได้โดยเสรี

ข้อดีของ Ubuntu(ตามความคิดของผู้เขียน)
-ไม่มีไวรัสให้กวนใจ(เพราะคนใช้งานยังนอย) แม้จะมีไวรัสเข้าเครื่องก็ไม่สามารถรันได้ เพราะไม่มช windows
-บูตเร็ว อันนี้สุดยอดมากครับ บุตแล้วใช้ได้เลย ไม่ต้องรอโหลดโปรแกรม
-โปรแกรมเยอะแยะมากมายทั้งฟรีทั้งเสียเงิน เกมส์ มากมาย
-สามารถรัน .exe (ซึ่งปกติจะรันบน Windows) ได้ โดยใช้ โปรแกรม Wine

ข้อเสีย
-ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์แบบในบางโปรแกรม
-คนที่เพิ่งหัดใช้อาจจะใช้ไม่ถนัด แต่เลนนๆไปก็ถนัดเองครับ
(ข้อมูลจาก http://www.ubuntuthailand.com )